เคล็ดลับ วิธีทําให้บ้านเย็น ด้วยหลังคา Cool Coating Technology

ทราบหรือไม่ว่า ความร้อนภายในบ้านนั้นส่วนใหญ่เกิดมาจาก “หลังคา”

ความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์เมื่อส่องกระทบผิววัสดุจะเกิดการสะท้อนความร้อนขึ้นบางส่วน โดยส่วนที่เหลือจะเปลี่ยนเป็นพลังงานสะสมอยู่ที่ผิววัสดุและเกิดการคายความร้อน ได้ 2 ทาง คือ ภายในอาคาร และภายนอกอาคาร โดยความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เกิดจากวัสดุที่สะสมความร้อนไว้ คายความร้อนเข้ามาภายในตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ประตูหน้าต่าง กำแพง ผนัง และหลังคา นอกจากนี้ยังมีแหล่งกำเนิดความร้อนภายในบ้านทั้งจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และความร้อนจากร่างกายของคนเราเองอีกด้วย ดังนั้นการเลือกวัสดุที่สะท้อนความร้อนได้ดี จะมีส่วนช่วยให้ความร้อนภายในบ้านลดลงได้

วิธีทำให้บ้านเย็น ประหยัดไฟ และน่าอยู่มากขึ้น

1.เลือกใช้วัสดุที่มีค่าสะท้อนความร้อนที่ดี

โดยเฉพาะหลังคาเมทัลชีทบุฉนวนบลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) ที่มี Cool Coating Technology ซึ่งมีคุณสมบัติการสะท้อนความร้อนที่ดีทุกเฉดสีแม้ในเฉดสีเข้ม เป็นการป้องกันความร้อนก่อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน

2.เลือกใช้วัสดุที่มีค่าสะท้อนความร้อนได้ดี

และติดฉนวนกันความร้อนบนแผ่นเมทัลชีท หรือที่เรียกว่า Sandwich Panel

3.ติดตั้งอุปกรณ์เสริม

เพื่อช่วยในการลดและชะลอความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน เช่น การวางฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคา หรือ บนฝ้าเพดาน

 

หลังคา เป็นบริเวณที่มีปริมาณความร้อนส่วนใหญ่ผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน เนื่องจากเป็นส่วนที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงสุดของวันนั้น หลังคาจะเป็นส่วนที่รับความร้อนทั้งหมด หลังคาจึงเปรียบเสมือนปราการด่านแรกที่คอยปกป้องตัวบ้านจากความร้อน ดังนั้น วัสดุหลังคาที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญที่สามารถช่วยปกป้องบ้านจากความร้อนได้ ซึ่งโดยธรรมชาติของวัสดุหลังคาเมทัลชีทจะมีคุณสมบัติการสะสมความร้อนที่น้อยกว่าวัสดุทั่วไป หรือการนำเมทัลชีทบุฉนวนก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ และสีหลังคาเมทัลชีทที่มีเฉดสีอ่อนจะมีการสะท้อนความร้อนได้ดีกว่าเฉดสีเข้ม แต่ในปัจจุบันหลังคาเมทัลชีทเฉดสีเข้มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทางบลูสโคปจึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยการสะท้อนความร้อนได้ดีในทุกเฉดสี

บลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool)

ที่มี Cool Coating Technology เป็นนวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษ ที่ถูกผสมลงในเนื้อสีที่จะช่วยสะท้อนความร้อนออกไปบางส่วนก่อนที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งเมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไปที่ไม่ได้ใช้เม็ดสีสูตรพิเศษนี้จะเกิดการดูดซับความร้อนและถ่ายเทเข้ามายังตัวบ้านมากกว่า ดังนั้น Cool Coating Technology ทำให้เมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) มีการสะท้อนความร้อนที่ดีทุกเฉดสีแม้ในเฉดสีเข้ม

โดยทางบลูสโคป ได้ทำการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบกับเมทัลชีททั่วไปแล้ว จะเป็นหลังคากันร้อนที่ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นกว่าสูงสุดถึง 2.2 องศาเซลเซียส และยังช่วยให้ประหยัดไฟสูงสุดถึง 9% ซึ่งคิดเป็น 45 บาท/เดือน อีกด้วย

  • อุณหภูมิเปรียบเทียบ ระหว่างห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) สีน้ำตาล Natural Brown ความหนารวม 0.35 มม. และห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีททั่วไปที่มีความหนาและสีเดียวกัน จากการทดสอบร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (Thailand Institute of Scientific and Technological Research) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 หลังเปิดแอร์ 3 ชั่วโมง โดยเป็นการจำลองห้องขนาด 3.75 ตารางเมตร ไม่มีฝ้า ติดเครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 BTU (เครื่องปรับอากาศใหม่ ที่ผ่านการใช้งาน 7 วัน)
  • คำนวณค่าประหยัดไฟ ระหว่างห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) สีน้ำตาล Natural Brown ความหนารวม 0.35 มม. และห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีททั่วไปที่มีความหนาและสีเดียวกัน จากการทดสอบร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (Thailand Institute of Scientific and Technological Research) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 โดยเป็นการจำลองห้องขนาด 3.75 ตารางเมตร ไม่มีฝ้า ติดเครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 BTU ระยะเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศ 5 ชั่วโมง (เครื่องปรับอากาศใหม่ ที่ผ่านการใช้งาน 5 วัน) แล้วตั้งสมมุติฐานการใช้ไฟฟ้าเป็นเวลา 30 วัน คำนวณค่าไฟเฉลี่ยที่ 5 บาท/หน่วย ที่ได้จากค่าไฟฟ้าของบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 3 ห้องนอน ที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 200 ตารางเมตร

ซึ่งแน่นอนว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือ อุปกรณ์เสริมที่ช่วยการสะท้อนความร้อนเพิ่มเติม จะช่วยทั้งเป็นการลดและชะลอความร้อนที่จะถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านด้วยอีกหนึ่งทาง อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดไฟเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามความสามารถในการประหยัดไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ สีหลังคาแต่ละสีที่ให้ค่าการสะท้อนความร้อนที่แตกต่างกัน อีกทั้งการคายความร้อนของวัสดุซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ความเร็วลมของแต่ละพื้นที่ รวมไปถึง ขนาดของอาคาร วัสดุปิดผิว ประตู หน้าต่าง หรือ ฝ้า ซึ่งวัสดุที่แตกต่างกันจะมีการคายความร้อนที่แตกต่างกันออกไป และ อีกปัจจัยคือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีขนาดBTU, คุณภาพ และอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน จะส่งผลโดยตรงกับอัตราการใช้ไฟฟ้า ด้วยเช่นกัน