5 วิธีแก้บ้านร้อน ให้เย็นลงอย่างตรงจุด สร้างความสุขสบายให้คนในบ้าน
บ้านของคุณร้อนอบอ้าวเกินไปเมื่อถึงช่วงหน้าร้อนของปีหรือไม่ คุณเคยสงสัยไหมว่าวัสดุ สี หรือรูปทรงของหลังคา มีส่วนทำให้บ้านร้อนขึ้น อันที่จริงปัจจัยเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบ้านเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในบ้านของคุณด้วยมาดูวิธีแก้บ้านร้อน และปัจจัยเหล่านี้กัน
ปัจจัยที่มีผลทำให้บ้านร้อนอบอ้าว
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านร้อน คือความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคาบ้าน และแผ่ขยายไปทั่วบริเวณ เกิดเป็น “ปรากฏการณ์เตาอบ” หรือการที่บ้านสะสมความร้อนไว้ตลอดทั้งวัน แล้วคายความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกร้อนอบอ้าว และไม่สบายตัว หลายบ้านเลือกวิธีแก้บ้านร้อนด้วยการเปิดเครื่องปรับอากาศ แต่กลับสู้ความร้อนที่แผ่ลงมาไม่ไหว อีกทั้งยังดูเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอีกด้วย สำหรับวิธีลดความร้อนในบ้านที่แนะนำ มี 5 ขั้นตอนดังนี้
5 วิธีแก้บ้านร้อน ให้เย็นลงอย่างเห็นได้ชัด
1. การติดพัดลมเพดาน ระบายความร้อนหลังคา
วิธีแก้บ้านร้อนด้วยกระแสลมจากพัดลมเพดานจะช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนได้ดี และพัดพาเอาความร้อนออกไปจากตัวบ้าน ผ่านประตู หน้าต่าง ทำให้ตัวบ้านเย็นขึ้นนั่นเอง
2. การติดฟิล์มบริเวณหน้าต่าง หรือประตูกระจก
อีกหนึ่งวิธีแก้บ้านร้อน เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดที่สาดส่องเข้ามาในบ้าน ซึ่งจะทำให้บ้านร้อน และอบอ้าว หรือจะใช้วิธีการติดผ้าม่านแทนการติดฟิล์มก็ได้เช่นเดียวกัน
3. การติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือแผ่นกันความร้อน
วิธีแก้บ้านร้อนด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อน สามารถทำได้ทั้งบ้านใหม่ และบ้านเก่า โดยจะติดตั้งฉนวนไว้บริเวณฝ้าเพดาน หรือใต้หลังคา เพื่อป้องกันความร้อนที่ได้รับจากหลังคาบ้านโดยตรง
4. ระแนงบังแดด ผนังบ้าน
ในกรณีที่ผนังบ้านฝั่งใดฝั่งหนึ่งของบ้านที่มักจะโดนแดดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งวัน สามารถลดความร้อนให้กับบ้านด้วยการติดตั้งระแนง สร้างร่มเงา ไม่ให้ผนังบ้านโดนแดดมาก
5. หลังคากันความร้อน ช่วยประหยัดพลังงาน
วิธีแก้บ้านร้อนอย่างหนึ่ง คือคุณควรเลือกหลังคาที่สามารถระบายความร้อนได้ดีหรือมีสีอ่อน และทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องการสะท้อนแสงอาทิตย์ เพื่อสะท้อนความร้อนออกไปจากตัวบ้านแทนการรับแสงแดดเข้ามา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงอย่างเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังคาที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดดถือว่ามีประโยชน์มาก
เนื่องจากในช่วงหน้าร้อน หลังคาจะเป็นบริเวณที่ร้อนที่สุดของอาคาร แม้ฉนวนกันความร้อนหลังคาจะบรรเทาความร้อนได้บ้าง แต่บ้านส่วนใหญ่ก็ยังประสบปัญหานี้
อย่างไรก็ตาม การเลือกวัสดุหลังคากันร้อน อย่างเมทัลชีทที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน จะช่วยลดความร้อน และช่วยประหยัดพลังงานในการใช้เครื่องปรับอากาศได้ เนื่องจากเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) มีเทคโนโลยี Cool coating ที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นขึ้นสูงสุด ถึง 2.2 องศาเซลเซียส และประหยัดไฟฟ้าได้ดีกว่าเมทัลชีททั่วไป
* ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของฉนวน สี และรูปทรงอาคาร ที่มา:Energy Efficient Singapore.
หลังคากันร้อน หรือ เมทัลชีทที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน มีผลต่อความเย็นของบ้าน
วัสดุมุงหลังคามีผลต่อการสะท้อนความร้อนออกไปภายนอกเป็นอย่างมาก ยิ่งการเลือกหลังคากันร้อน อย่าง เมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ ที่มีเทคโนโลยี Cool coating ที่เป็นนวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษ ที่เคลือบบนผิวของเมทัลชีท ทำให้สะท้อนความร้อนได้ดีในทุกเฉดสี แม้ในเฉดสีเข้ม ส่งผลให้หลังคาบ้านเย็นขึ้น เมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไป
การติดตั้งหลังคาเมทัลชีทกันความร้อน
การออกแบบหลังคาเมทัลชีทช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดพลังงานในบ้านของคุณได้ เพราะหลังคาเมทัลชีทส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่จะเป็นหลังคากันความร้อนเท่านั้น แต่ยังระบายอากาศได้ดี เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้บ้านร้อน ทำให้บ้านเย็นสบายในช่วงฤดูร้อน
ซึ่งสิ่งสำคัญเมื่อติดตั้งวัสดุกันความร้อนหลังคาเมทัลชีท คือต้องเว้นระยะห่างของหน้าสัมผัสระหว่างหลังคาเมทัลชีทกับโครงสร้างด้านล่างเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เกิดการถ่ายเทความร้อน การใช้หลังคาเมทัลชีทสีอ่อน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้บ้านมีอุณหภูมิต่ำและสะท้อนความร้อนออกไป โดยสีที่ใช้ควรเป็นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่วนการเพิ่มชั้นฉนวนให้กับแผ่นหลังคาเมทัลชีทจะยิ่งช่วยลดความร้อนและเสียงดังรบกวนได้ดียิ่งขึ้น
เจ้าของบ้านที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี ควรคิดทบทวนการเลือกใช้วัสดุหลังคาด้วยความรอบคอบ เพราะบ้านนั้นเป็นเหมือนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของเรา หากต้องอยู่ในบ้านที่ร้อนอบอ้าว คงไม่มีความสุข เสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ แทนที่จะได้นอนพักผ่อนอยู่บ้านแบบสบายใจกลับต้องทนอยู่กับอากาศร้อนอบอ้าวตลอดทั้งวัน
ดูเพิ่มเติม
อายุการใช้งาน ยาวนาน
เจ้าของบ้านที่กำลังวางแผนติดตั้งหลังคาใหม่มักกังวลเรื่องความทนทานของวัสดุที่เลือกใช้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว คุณเพียงอยากมั่นใจว่าสิ่งที่คุณลงทุนไปนั้นจะคุ้มค่าและคงอยู่ไปอีกนาน
ศึกษาเพิ่มเติม