5 วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม
เชื่อว่าหลายคนที่กำลังสร้างบ้าน ต่อเติมครัว ที่จอดรถหรือปรับเปลี่ยนหลังคาใหม่ จะต้องได้ยินพนักงานขายหรือช่างรับเหมาแนะนำเกี่ยวกับ แผ่นหลังคาเมทัลชีท อย่างไม่ต้องสงสัย ยิ่งในปัจจุบันนี้เมทัลชีทได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบ้านทรงโมเดิร์นหลังคาต่ำ เพราะไม่เพียงแต่นำมาใช้งานเพื่อเป็นหลังคาให้กับบ้านที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาเป็นผนังกั้นห้องและรั้วบ้านได้อีกด้วย หลังคาเมทัลชีทนอกจากจะปกป้องแสงแดดและกันฝนได้อย่างดีแล้ว ยังสามารถกันความร้อนและรังสียูวีเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน ทำให้บ้านมีความเย็นสบายมากขึ้นกว่าการใช้หลังคาชนิดอื่น
ข้อควรรู้และวิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)
แม้ในท้องตลาดจะมี แผ่นหลังคาเมทัลชีท ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย แต่รู้หรือไม่ว่าแผ่นเมทัลชีทแต่ละแผ่นนั้นมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น ความหนา, การเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อนและสนิม, การเคลือบสี, ขนาดและความสูงของลอนและการติดตั้ง ซึ่งหากเจ้าของบ้านหรือช่างที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของแผ่นเมทัลชีทที่ดีพอ ก็จะทำให้เลือกนำไปใช้งานได้ผิดประเภท สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและได้งานที่ไม่ได้คุณภาพอีกด้วย ก่อนที่จะไปขั้นตอนการเลือกซื้อแผ่นหลังคาเมทัลชีท ลองไปทำความรู้จักกับแผ่นเมทัลชีทกันดีกว่าว่ามีคุณสมบัติอย่างไร เพราะเหตุใดจึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
แผ่นหลังคาเมทัลชีท คืออะไร
แผ่นเมทัลชีท คือ แผ่นโลหะรีดขึ้นรูป โดยเมทัลชีทที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือแผ่นเมทัลชีทที่เคลือบด้วยสารที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนและสนิม อย่างอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี ซึ่งมีส่วนประกอบหลักสำคัญได้แก่ อลูมิเนียมและ สังกะสี โดยแผ่นเมทัลชีทดังล่าว มีให้เลือกใช้งานทั้งแผ่นเรียบและแบบเป็นลอน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ โดยแผ่นเมทัลชีทจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบเคลือบสีและไม่เคลือบสี หลายคนอาจสงสัยว่าเมทัลชีทแบบเคลือบสีและไม่เคลือบสีมีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้ามองจากภายนอกคงเห็นแค่รูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่เมื่อพูดถึงคุณสมบัติแล้วนั้นจะเห็นถึงความแตกต่างได้ โดยแผ่นเมทัลชีทแบบเคลือบสีจะช่วยกันความร้อนได้ดีกว่าและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบไม่เคลือบสี ด้วยนวัตกรรมของสีในปัจจุบันมิใช่มีเพียงแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยปกป้องรังสียูวีและกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ และหากเพิ่มความหนาของเมทัลชีทขึ้นไปจะช่วยลดเสียงของฝนที่ตกลงมากระทบให้เบาลงได้
ในการติดตั้งหลังคาหรือผนังเมทัลชีท หากต้องการลดเสียงหรือความร้อน ควรติดตั้งคู่กับฉนวนกันความร้อนเพื่อช่วยให้ แผ่น metal sheet ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งแบบฉนวนโฟมPU ที่ใช้พ่น, ฉนวนแบบแผ่นวางใต้แผ่นเมทัลชีท หรือแบบสำเร็จรูปที่ติดมากับแผ่นเมทัลชีทก็มี ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมนั้นมีข้อดีคือ ป้องกันความร้อน ควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน และลดเสียงดังรบกวนจากภายนอกได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
5 ข้อควรรู้ก่อนซื้อแผ่นหลังคาเมทัลชีท
- การติดตั้งหลังคาเมทัลชีทแบบคลิปล็อก หากต้องการติดตั้งหลังคาเมทัลชีทกับบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังคาต่ำ ควรเลือกการติดตั้งแบบคลิปล็อก ด้วยองศาของหลังคาที่ต่ำกว่า 5 องศาของหลังคาทรงโมเดิร์นนั้น ทำให้การระบายน้ำฝนเป็นไปได้ช้า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วซึม จึงควรเลือกการติดตั้งหลังคาเมทัลชีทแบบคลิปล็อก ด้วยการออกแบบรูปลอนที่มีสันลอนที่สูง จึงทำให้ระบบคลิปล็อกสามารถรองรับการติดตั้งหลังคาที่มีความลาดชันต่ำสุดได้ถึง 2 องศา จึงหมดปัญหาการรั่วซึมจาก การระบายน้ำไม่ทัน อย่างไรก็ตามความยาวของแผ่นหลังคา ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ออกแบบ เพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลักษณะของบ้าน แต่ถ้าเจ้าของบ้านต้องการจะติดตั้งหลังคาทรงสูงแบบปั้นหยา สามารถที่จะติดตั้งเมทัลชีทแบบเจาะสกรูได้ ก็จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าแบบคลิปล็อกได้
- ใช้หลังคาเมทัลชีทคู่กับฉนวนกันความร้อน เพื่อประสิทธิภาพในการกันความร้อนและลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้หลังคาเมทัลชีทคู่กับฉนวนกันความร้อน เนื่องจาก แผ่น metal sheet เป็นโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำความร้อน แต่ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวก็จะสามารถระบายความร้อนได้ดีเช่นเดียวกัน หากได้ฉนวนกันความร้อนมาช่วยเสริมก็จะทำให้เมทัลชีททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การติดฉนวนยังทำให้การควบคุมอุณภูมิเป็นไปได้ดีขึ้นส่งผลให้ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้ดีอีกด้วย โดยในปัจจุบันมีฉนวนให้เลือกใช้งานหลายแบบ หลายความหนา ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน
- เลือกความหนาให้ถูกประเภท แม้หลังคาเมทัลชีทจะมีความหนาที่เป็นมาตรฐานหลากหลายระดับ แต่ในการเลือกใช้งานก็ควรเลือกความหนาที่เหมาะสม เพื่อความแข็งแรงของหลังคาและสามารถทนความร้อนและลดเสียงดังจากภายนอกได้ด้วย โดยทั่วไปช่างมักจะบอกให้เจ้าของบ้านเลือกใช้งานที่ 0.30 มม. ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่มีความหนาต่ำที่สุดในการนำมาใช้ทำหลังคาบ้านก็จริง แต่อย่างน้อยควรเลือกความหนาที่เผื่อไว้จากค่าปกติ เช่น 0.35 มม.-0.47 มม. ก็จะช่วยให้ได้หลังคาเมทัลชีทที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แต่อย่าเลือกความหนาต่ำกว่า 0.30 มม.เป็นอันขาด เพราะนอกจากจะไม่มีความแข็งแรงแล้วประสิทธิภาพในการใช้งานต่าง ๆ ก็จะลดน้อยถอยลงไปด้วย
- ยิ่งน้อยแผ่น ยิ่งมีประสิทธิภาพมาก การติดตั้งเมทัลชีทควรติดตั้งแบบแผ่นยาวตลอดทั้งแผ่น เพราะการติดตั้งแบบความยาวทั้งแผ่นจะช่วยลดปัญหาการรั่ว ซึมจากการเจาะสกรูลงได้ การติดตั้งจึงควรระมัดระวังช่างใช้เมทัลชีทแบบไม่เต็มแผ่นหรือวิธีการต่อแผ่นเอาไว้ด้วย
- การติดตั้งแผ่นเมทัลชีทควรใช้ช่างที่มีความชำนาญด้านเมทัลชีทโดยเฉพาะ เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทมีความบางมาก การติดตั้ง เคลื่อนย้าย การเจาะสกรูหรือการตัดแต่งตามมุมต่าง ๆ ควรทำโดยช่างเมทัลชีทโดยเฉพาะ เพราะหากผิดพลาดเพียงนิดเดียว นอกจากจะทำให้งานออกมาไม่สวยแล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อและทำใหม่อีกด้วย
5 วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- เลือกลอนให้เหมาะสม เมทัลชีทแม้จะมีรูปแบบของลอนให้เลือกใช้งานที่หลากหลาย แต่ก็ควรเลือกลอนให้เข้ากับบ้านและการใช้งาน โดยเฉพาะการเลือกลอนสูงสำหรับบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ฝนตกชุก เพราะจะช่วยให้การระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วกว่าเมทัลชีทแบบลอนต่ำ บ้านขนาดเล็กมีพื้นที่หลังคาไม่มากก็ควรเลือกลอนให้มีความเหมาะสมกับตัวบ้าน เป็นต้น
- เพิ่มเงินอีกนิด ยืดอายุเมทัลชีทได้อีกนาน แผ่น metal sheet แบบไม่เคลือบสีแม้จะมีราคาถูกที่สุด แต่การเลือกใช้แบบเคลือบสีก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแผ่นเมทัลชีทได้ เนื่องจากสีสันที่เคลือบบนหลังคาเมทัลชีท มิใช่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังเคลือบด้วยเทคโนโลยีของสีสมัยใหม่ ที่ช่วยสะท้อนความร้อนและปกป้องแสงยูวีที่มาทำร้ายหลังคาเมทัลชีท และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบไม่เคลือบอีกด้วย
- เลือกรูปแบบการติดตั้งให้เหมาะสมกับการออกแบบและการใช้งาน เนื่องจากเมทัลชีทมีวิธีการติดตั้งด้วยกัน 2 แบบคือ แบบเจาะสกรูและแบบคลิปล็อก ซึ่งจะมีวิธีในการออกแบบที่แตกต่างกัน เช่น โครงหลังคาโมเดิร์นแบบลาดชันต่ำ การติดตั้งแบบคลิปล็อกจะเหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่โครงหลังคาแบบปั้นหยาหรือหมาแหงน จะใช้การติดตั้งแบบเจาะสกรูมากกว่า
- ความหนาแผ่นหลังคาเมทัลชีทมีผลต่อคุณภาพของงาน แผ่นเมทัลชีทที่ใช้มุงหลังคาบ้านควรมีขนาดความหนาอย่างน้อย 0.3 มม.ขึ้นไป เพื่อความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งาน เพราะหากมีขนาดที่บางกว่าจะทำให้เกิดการยุบตัวได้ หากเป็นไปได้ควรเลือกใช้ตามสเปคที่วิศวกรหรือสถาปนิกที่ออกแบบบ้านมาเป็นผู้กำหนดจะดีที่สุด อีกทั้งความหนาของเมทัลชีทเองยังมีผลต่อระยะแปของหลังคาด้วย
- เลือกใช้สินค้าแผ่นหลังคาเมทัลชีทที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือ มอก. เพราะหมายถึงสินค้าได้รับการทดสอบและกระบวนการผลิตที่ดีมีมาตรฐานจนได้รับการรับรองจาก มอก. นอกจากนี้หากมีการควบคุมมาตรฐานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลจะยิ่งเป็นความเชื่อมั่นในคุณภาพที่ดีได้อีกด้วย เช่น ASTM, AS และ JIS เป็นต้น
ข้อดีแผ่นหลังคาเมทัลชีท
- แผ่นหลังคาเมทัลชีทน้ำหนักเบา เนื่องจาก แผ่นหลังคาเมทัลชีท มีขนาดบางเพียง 0.3-0.5 มม. เท่านั้น จึงทำให้เคลื่อนย้ายหรือยกขึ้นที่สูงได้ง่าย อีกทั้งโครงสร้างหลังคาก็ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
- แผ่นหลังคาเมทัลชีทลดต้นทุนในการตอกเข็ม ในการสร้างบ้านจะต้องมีการคำนวณโครงสร้างบ้าน หากเป็นบ้านที่ใช้โครงหลังคากระเบื้อง จะต้องมีการตอกเสาเข็มปริมาณมากกว่าบ้านที่เป็นโครงหลังคาเมทัลชีท เพราะหลังคากระเบื้องมีน้ำหนักมากกว่า ทำให้หลังคาเมทัลชีทลดปริมาณการตอกเสาเข็มและลดต้นทุนลงไปได้
- แผ่นหลังคาเมทัลชีทสะท้อนความร้อนและระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคากระเบื้อง แม้เมทัลชีทจะผลิตจากโลหะที่มีคุณสมบัตินำความร้อน แต่หากเลือกใช้งานกับฉนวนกันความร้อนที่มีคุณภาพดี ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืนด้วยคุณสมบัติการนำความร้อนของเมทัลชีท ก็จะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคาแบบกระเบื้อง
- ลดเวลาในการทำงาน เนื่องจากเมทัลชีทมีน้ำหนักเบาและมีลักษณะเป็นแผ่นยาวจึงทำให้ยกขึ้นหลังคาได้ง่าย สามารถวางบนโครงสร้างหลังคาได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดหรือเรียงเหมือนกระเบื้องมุงหลังคา
- แผ่นหลังคาเมทัลชีทสามารถใช้งานได้หลากหลาย นอกจากจะนำเมทัลชีทมาใช้ในการมุงหลังคาแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นผนังกั้นห้องได้ด้วย โดยเฉพาะผนังบ้านที่ต้องการลดเสียง ลดความร้อนจากการโดนแสงแดดตลอดเวลา ด้วยการใช้งานร่วมกับฉนวนกันความร้อนโฟม PU ที่นอกจากจะกันความร้อนได้ดีแล้ว ยังสามารถลดเสียงรบกวนได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
ปัจจุบันแม้จะมีผู้ผลิตและจำหน่าย แผ่นเมทัลชีท อยู่เป็นจำนวนมาก ในการเลือกซื้อก็ควรเลือกสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. หรือมีการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่าได้สินค้าที่ดีและมีคุณภาพ